ด้านเศรษฐกิจ ของ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา

วันที่ 2 ตุลาคม 2557 หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท ได้แก่ 1. การเร่งใช้เงินลงทุนของปีงบประมาณ 2557 ที่ค้างอยู่ 147,050 ล้านบาท เพื่อสร้างงาน 2. เร่งรัดทำสัญญาจ้างรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ 2558 ทั้งสิ้น 449,475 ล้านบาท เฉพาะในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้ 149,146 ล้านบาท 3. เป็นมาตรการเร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยใช้งบจากโครงการไทยเข้มแข็งและงบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินปี 2555-2557 ที่ยังไม่ได้จัดสรรรวม 23,000 ล้านบาท โดยเน้นการซ่อม สร้าง มากกว่าที่สนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ 4. ทบทวนเงินที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี 2548-2556 วงเงิน 24,900 ล้านบาท ให้แต่ละกระทรวงหาวิธีใช้จ่ายเอง หากไม่รู้ให้คืนมาส่วนกลางเพื่อจะเอาไปใช้ในไตรมาสต่อไป และ 5. ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนา วงเงิน 40,000 ล้านบาท โดยจะแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ในปีนี้ ส่วนปีต่อไปให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว เงินที่ให้จะใช้สภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายไปก่อน แล้วรัฐบาลจะตั้งงบชดเชยให้ในปีหน้า รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"[3]

วันที่ 21 ตุลาคม 2557 พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยอาจมีวงเงินสูงกว่า 2 ล้านล้านบาท และกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาขยายเวลาจาก 8 ปีเป็น 10 ปี[4]

วันที่ 29 เมษายน 2558 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายวันที่ 11 กันยายน 2558 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 27/2558 รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน

วันที่ 15 กุมภาพันธุ์ 2559 รัฐบาลให้อำนาจ สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ[5]ตาม ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ 2559 โดยอ้างว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยประสบปัญหาการชะลอตัววันที่ 22 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับเพดานสูงสุดของเงินเดือนทหารและตำรวจ เฉลี่ยคนละ 400-1,300 บาทต่อเดือน ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 โดยพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือนจากการปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน[6]วันที่ 6 ตุลาคม 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 61/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาบุคลากรด้านการบิน ขยายอายุเกษียณนักบินเป็น 65 ปีวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 65/2559 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม [7]รัฐบาลยังออกมาตรฐานช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อปี โดยให้บุคคลดังกล่าวมาลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อรับเงินช่วยเหลือจากรัฐเรียกว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ[8]และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในบางจังหวัดสูงสุดเป็น 310 บาทต่อวัน ใน 7 จังหวัด[9]

โครงการไทยนิยม ยั่งยืน

โครงการไทยนิยม ยั่งยืน มีเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่าง ๆ มีการจัดชุดปฏิบัติงานมากกว่า 7,000 ชุด ดำเนินงานในทุกตำบล/เขต ของประเทศ โดยแต่ละชุดจะมีส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวม 7 - 12 คน (ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 21/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ)[10] โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ มีงบประมาณในการดำเนินการ 2,000 ล้านบาท[11]

โดยทีมขับเคลื่อนจะลงพื้นที่ทั้งหมด 4 ครั้ง[12]
ครั้งที่หนึ่ง ระหว่าง 21 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม 2561 เพื่อสอบถามข้อมูล ความต้องการของประชาชน
ครั้งที่สอง ระหว่าง 21 มีนาคม ถึง 10 เมษายน 2561 เพื่อสร้างการรับรู้
ครั้งที่สาม ระหว่าง 11 ถึง 30 เมษายน 2561 เพื่อติดตาม ขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหา
ครั้งที่สี่ ระหว่าง 1 ถึง 20 พฤษภาคม 2561 เพื่อติดตาม ขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหา

หลังจากการประชุมชี้แจงแนวทางให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และวิทยากรระดับจังหวัด รวม 2,800 คน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน[13] ซึ่งโครงการมีกรอบงานที่สำคัญ 10 เรื่อง[14] คือ

  1. สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง
  2. คนไทยไม่ทิ้งกัน
  3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข
  4. วิถีไทยวิถีพอเพียง
  5. รู้สิทธิ รู้หน้าที่
  6. รู้กลไกการบริหารราชการ
  7. รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม
  8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี
  9. ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
  10. งานตามภารกิจของส่วนราชการ/หน่วยงาน

มีการจัดตั้งสายด่วน "สายตรง ไทยนิยม" หมายเลข 1567 และ 1111 ทำงาน 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ และกระจายข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ

โครงการดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าเป็นการหาเสียงปูทางก่อนเลือกตั้ง แต่รัฐบาลปฏิเสธ[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา http://inews.bangkokbiznews.com/read/370692 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/717535 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/737580 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/753086 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/766309 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/785275 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/789580 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/791082 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/792536 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/801876